วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ไหว้ครู

วันไหว้ครูของหนูๆ วันที่ 16 มิถุนายน 2554
เด็กกำลังไหว้คุณครูที่อบรมสั่งสอนศิษย์ให้มีความรู้

เด็กมีความตั้งใจไหว้คุณครูประจำชั้น

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความสุขมีทุกที่

     ความสุขที่เกิดในใจส่งผ่านใบหน้ารอยยิ้ม
ความสุขมีหลายอย่าง สุขที่ทำงานที่ชอบ  สุขที่มีเพื่อนที่ดี  สุขที่มีคนดูแล  สุขที่...............
พักผ่อนอบรบมาเรียลัยใจหนึ่งเดียว วันที่ 27-29 เมษายน  พ.ศ. 2554  ได้ความรู้และความสุข

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

การทำงานกับคนกลุ่มใหญ่

การทำงานกับบุคคลที่มีจำนวนมาก
        การทำงานต้องเกิดจากความตั้งใจ  ร่วมใจ สามัคคี งานที่เป็นกลุ่มจึงจะสำเร็จ  แต่บางครั้งอาจมีปัญหาจากความคิดที่หลากหลายทั้งสร้างสรรค์และความคิดที่เป็นใหญ่  ความคิดที่เป็นใหญ่คือการใช้ความคิดของตัวเองเพียงผู้เดียวและทุกคนต้องทำตาม  ความคิดของแต่และบุคคลต้องอาศัยความถนัด ประสบการณ์ ความคิดที่แปลกใหม่  ความคิดที่สร้างสรรค์  แต่ความคิดแต่ละอย่างต้องอาศัยเวลาในการคิด  การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นหรือการยอมรับความคิดเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่แสดงความคิดเห็นจะทำให้หน่วยงานหรือองค์กรมีทางเลือกหรือการพัฒนามากขึ้น
     การมองโลกในแง่บวกก็สำคัญในการทำงานร่วมกันแต่การดูถูกหรือพูดแต่จุดด้อยไม่สนับสนุนเพื่อนร่วมงานอิจฉาว่าร้ายกันจะยิ่งทำให้งานหรือการทำงานไม่มีประสิทธิภาพ

วันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554

สวัสดีปี2554

      การแสดงของเด็กชั้นปฐมวัยปีที่1/1  ช้อมการแสดงโดย
คุณครูพันธุ์ทิพย์ บำเหน็จชื่อชุดอายย่ะคนน่ารัก
เด็กๆได้มีความมั่นใจในการกล้าแสดงออกต่อหน้าผู้อื่นด้วยความภาคภูมิใจ โดยเฉพาะการได้แรงเสริมจากคนรอบข้าง
เป็นคำชม สิ่งของซึ่งจะทำให้เด็กมีกำลังใจมากขึ้นในการทำสิ่งต่างด้วยความมั่นใจ
แนวทฤษฎีของสกินเนอร์
 พฤติกรรมทั้งหลายของมนุษย์คือการกระทำใด ๆ ถ้าได้รับการเสริมแรง อัตราความเข้มแข็งของการตอบสนองจะมีโอกาศสูงขึ้นอย่างไรก็ตาม การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ จึงมีความแตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิดของการเสริมแรง
ภาพความประทับใจจากการไปพักผ่อนที่ปาย
เหน็ดเหนื่อยกับการทำงานได้รับการเสริมแรงทางบวกด้วยการไปพักผ่อน ชมธรรมชาติที่เมืองปาย ของคณะครูโรงเรียนมาเรียลัย

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

  • วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่จัดตั้งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการสังคม ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มี คุณธรรม คุณภาพ และทัศนคติที่ดีต่อธรรมชาติและเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมไทย และประเทศไทย  วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิมุ่งมั่นที่จะสร้างความเป็นเลิศทางความคิด (ปัญญาและความดี) ทางวิชาการ (ความรู้ สู่อาชีพ) และการดำรงชีวิต (การปฏิบัติสู่ความสุข) ควบคู่กันไปทั้งสามด้าน เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ด้วยคุณภาพแห่งชีวิต
  • คณะบริหารธุรกิจ
       -สาขาการบัญชี
       -สาขาการตลาด
       -สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
       -สาขาการจัดการ
       -สาขาการจัดการอุตสาหกรรม
       -สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
   คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี
       -สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  บัณฑิตวิทยาลัย
      -ปริญญาโทบริหารธุรกิจ
      -ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู 
-เคยได้ยินชื่อวิทยาลัยสุวรรณภมิและนั่งรถผ่านเห็นติดประกาศรับสมัครนัศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครูจึงได้มาสมัครเรียนกับเพื่อน ที่นี้มีการเรียนการสอนที่มีคุณภาพดีมาก อาจารย์ทุกท่านดูแลและสอนดีนักศึกษาทุกคนได้ความรู้  บรรยากาศดี อาคารเรียนทันสมัย






ความรู้สึกที่ได้มาศึกษาต่อที่วิทยาลัยสุวรรณภูมิ

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการเรียนรู้

การเรียนรู้ ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์ จากความหมายดังกล่าว พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เช่น นักศึกษาพยายามเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ บางคำ หากนักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องเพียงครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถออกเสียงซ้ำให้ถูกต้องได้อีก ก็ไม่นับว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ ดังนั้นจะถือว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อออก เสียงคำ ดังกล่าวได้ถูกต้องหลายครั้ง ซึ่งก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรนั่นเอง
               อย่างไรก็ดี ยังมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่เปลี่ยนแปลงชั่วคราวอัน เนื่องมาจากการที่ ร่างกายได้รับสารเคมี ยาบางชนิด หรือเกิดจากความเหนื่อยล้า เจ็บป่วยลักษณะดังกล่าวไม่ถือว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นเกิดจากการเรียนรู้
2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเกิดจากการฝึกฝน หรือเคยมีประสบการณ์นั้น ๆ มาก่อน เช่น ความ สามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ต้องได้รับการฝึกฝน และถ้าสามารถใช้เป็นแสดงว่าเกิดการเรียนรู้ หรือความ สามารถในการขับรถ ซึ่งไม่มีใครขับรถเป็นมาแต่กำเนิดต้องได้รับการฝึกฝน หรือมีประสบการณ์ จึงจะขับรถเป็น ในประเด็นนี้มีพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ต้องฝึกฝนหรือมีประสบการณ์ ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ และพฤติกรรมที่เกิดจากแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์  (โบเวอร์ และอัลการ์ด 1987, อ้างถึงใน ธีระพร อุวรรณโน,2532:285) ขอยกตัวอย่างแต่ละด้านดังนี้
ในด้านกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ ได้แก่ การที่เด็ก 2 ขวบสามารถเดินได้เอง ขณะที่ เด็ก 6 เดือน ไม่สามารถเดินได้ฉะนั้นการเดินจึงไม่จัดเป็นการเรียนรู้แต่เกิดเพราะมีวุฒิภาวะ เป็นต้น ส่วนใน ด้านแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์โบเวอร์   และฮิลการ์ด    ใช้ในความหมาย ที่หมายถึงปฏิกริยาสะท้อน (Reflex) เช่น กระพริบตาเมื่อฝุ่นเข้าตา ชักมือหนีเมื่อโดนของร้อน พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ แต่เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางจิตวิทยาอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theory)
     เป็นทฤษฎีที่มองธรรมชาติมนูษย์ในลักษระที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี-ไม่เลว (neutral-passive) การกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอกพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus-reapnse) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมดยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ "พฤติกรรม" มาก เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดได้และทดสอบได้ ทฤษฎีในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกันคือ ทฤษฎ๊การเชื่อมโยงของธอร์นไดด์ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขและทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์
    2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive theory)
    เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่า "การเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนมากกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง (ทัศนา แขมณี 2550, 59)
                  ทฤษฎีในกลุ่มนี้อธิบายว่า การเรียนรู้เป็นผลของกระบวนการคิด ความเข้าใจ การรับรู้สิ่งเร้าที่มากระตุ้น ผสมผสานกับประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาของบุคคล ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ซึ่งการผสมผสานระหว่าง ประสบการณ์ที่ได้รับในปัจจุบันกับประสบการณ์ในอดีต จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทางปัญญาเข้ามามีอิทธิพลในการเรียนรู้ด้วย ทฤษฎีกลุ่มนี้จึงเน้นกระบวนการทางปัญญา (Cognitive Process) มากกว่า การวางเงื่อนไข เพื่อให้เกิดพฤติกรรม ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ที่สำคัญ ๆ คือ ทฤษฎีเกสตัลท์ ทฤษฎีสนาม  ทฤษฎีเครื่องหมาย ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาและทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย